ประเภทของระบบ HVAC (ตอน Ductless System)
จากบทความก่อนหน้านี้เราได้แบ่งระบบ HVAC เป็น 2 ประเภทคือ แบบต่อท่อหรือแบบไร้ท่อ (ducted or ductless) ซึ่งเราได้กล่าวถึงระบบ HVAC ในระบบท่อ (ducted) ไปแล้ว 4 ประเภท (อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่) ได้แก่ระบบแยกส่วน (𝘀𝗽𝗹𝗶𝘁 𝘀𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺) ระบบแยกส่วนแบบไฮบริด (𝗛𝘆𝗯𝗿𝗶𝗱 𝗦𝗽𝗹𝗶𝘁 𝗦𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺), ระบบสำเร็จรูป (𝗣𝗮𝗰𝗸𝗮𝗴𝗲𝗱 𝗛𝗲𝗮𝘁𝗶𝗻𝗴 𝗮𝗻𝗱 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴) และระบบแบ่งตามพื้นที่ (𝗭𝗼𝗻𝗲𝗱 𝗦𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺) ซึ่งระบบเหล่านี้ ยูนิตหลักจะดันอากาศผ่านท่ออากาศเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงระบบ HVAC ประเภท ductless จะไม่มีท่อกระจายอากาศ แต่จะใช้วิธีใดในการกระจายอากาศทั่วพื้นที่ที่ต้องการ ?
ตามชื่อครับ Ductless เป็นระบบ HVAC แบบไร้ท่อได้รับการออกแบบเพื่อให้ความร้อนหรือความเย็นในพื้นที่ที่ไม่มีท่ออากาศ มีหลากหลายขนาด โดยส่วนมากจะใช้ในพื้นที่ขนาดเล็ก พื้นที่จำกัด หรือไซต์งาน และอาคาร พื้นที่ชั่วคราว
1. ระบบแยกส่วนแบบไร้ท่อ (𝗗𝘂𝗰𝘁-𝗙𝗿𝗲𝗲 𝗠𝗶𝗻𝗶-𝗦𝗽𝗹𝗶𝘁)

ระบบแยกส่วนขนาดเล็ก ซึ่งจะถูกติดตั้งไว้ในแต่ละห้อง พบเห็นทั่วไปตามครัวเรือน อาคารสำนักงาน และห้องพักในโรงแรม ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์ และคอนเดนเซอร์เป็นหลัก โดยใช้สารทำความเย็นเป็นสื่อกลางในการทำความเย็น หรือความร้อน
ส่วนของยูนิตภายในอาคาร หรือ Indoor Unit จะมีปั๊มความร้อน สายไฟ และเทอร์โมสตัทสำหรับแต่ละโซน/ห้อง โดยมีท่อทองแดงเชื่อมต่อส่วนประกอบระหว่าง Outdoor Unit และ Indoor Unit โดยคอมเพรสเซอร์สามารถเชื่อมต่อกับยูนิตจัดการอากาศภายในอาคาร ได้สูงสุดถึง 9 ตัว แล้วแต่กำลังคอมเพรสเซอร์ ความสามารถในการแบ่งโซนที่ยืดหยุ่น ทำให้ผู้อาศัยสามารถสร้างความร้อนและทำความเย็นในแต่ละเฉพาะห้องที่มีการใช้งาน ป้องกันการสูญเสียพลังงานส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การทำความร้อนอาจมีประสิทธิภาพการทำงานได้น้อยในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ จึงจำเป็นต้องเพิ่มระบบทำความร้อนแยกอีกส่วน
คุณสมบัติเด่น : ให้การควบคุมอุณหภูมิแบบไร้ท่อสำหรับพื้นที่เฉพาะ
2. เครื่องทำความร้อนแบบไฮโดรนิก (𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗛𝗲𝗮𝘁𝗶𝗻𝗴)

การทำความร้อนแบบไฮโดรนิกใช้ของเหลวแทนอากาศในการแผ่ความร้อน โดยใช้หม้อไอน้ำเพื่อทำให้น้ำร้อน และกระจายไปทั่วอาคารโดยใช้ชุดท่อใต้พื้น เมื่อของเหลวมาถึงหม้อน้ำหรือเครื่องทำความร้อน ระบบจะกระจายความร้อนไปทั่วห้อง เพื่อให้ความร้อนแก่พื้น
คุณสมบัติเด่น : ใช้ของเหลวเพื่อแผ่ความร้อน
3. เครื่องทำความเย็นแบบพกพา (𝗣𝗼𝗿𝘁𝗮𝗯𝗹𝗲 𝗦𝗽𝗼𝘁 𝗖𝗼𝗼𝗹𝗲𝗿)

หรือเครื่องทำความเย็นเฉพาะจุด ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ห้องขนาดใหญ่ โรงงานผลิต หรือพื้นที่เย็นลง โดยการดึงอากาศแวดล้อม ไปเหนือคอยล์ที่ระบายความร้อนด้วยสารทำความเย็นแล้วสูบกลับเข้าไปในอากาศ คอยล์เย็นและขจัดความชื้นออกจากอากาศ ทำให้เกิดการควบแน่นที่เหลือ ก่อนจะระบายออกไปยังท่อ เครื่องทำความเย็นเฉพาะจุดแบบพกพา สามารถทำงานได้ทุกสถานที่ เพียงใช้พลังงานไฟฟ้า ติดตั้งล้อไว้ทำให้เคลื่อนย้ายได้ง่าย โดยหาตำแหน่งจุดปล่อยอากาศเสีย เช่นหน้าตาง ประตู เพดาน หรือช่องระบายอากาศในอาคาร เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเสีย หรือลมอุ่นไหลกลับเข้าห้อง เพราะหลังจากระบายความร้อนด้วยอากาศแล้ว เครื่องทำความเย็นเฉพาะจุดจะสูบลมอุ่นที่เหลือออกทางท่อไอเสียที่ยืดออกได้
คุณสมบัติเด่น : เคลื่อนย้ายได้ยืดหยุ่นตามความต้องการ และติดตั้งง่าย
4. ปั๊มความร้อนแบบพกพา (𝗣𝗼𝗿𝘁𝗮𝗯𝗹𝗲 𝗛𝗲𝗮𝘁 𝗣𝘂𝗺𝗽)

ปั๊มความร้อนแบบพกพามีขนาดและการทำงานใกล้เคียงกับ Portable Spot Cooler แต่มีตัวเลือกการทำความร้อนเพิ่มเติมสำหรับสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำ เมื่อเปลี่ยนเป็นโหมดทำความร้อน ปั๊มความร้อนจะดึงอากาศภายนอกเข้ามา ไหลผ่านคอยล์เย็นและกระจายอากาศอุ่นไปทั่วห้อง 4 way reversing vale (วาล์วสำหรับใช้เปลี่ยนทิศทางในระบบแอร์แบบ ฮีท-ปั้ม) ภายในยูนิตจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสลับระหว่างความสามารถในการทำความร้อนและความเย็น ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสภาพอากาศที่แตกต่างกัน
คุณสมบัติเด่น : มีทั้งความสามารถในการทำความร้อนและความเย็น
ไม่ว่าคุณกำลังติดตั้งระบบ HVAC ใหม่หรือต้องการโซลูชันควบคุมอุณหภูมิ และปรับอากาศ สำหรับอาคาร หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ACT Advance Cool Technology เราสามารถตอบสนองความต้องการของคุณด้วยบริการครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษา และช่วยเหลือในการตัดสินใจ เราเป็นผู้ผลิตเครื่องทำความเย็นระดับอุตสาหกรรม ออกแบบ ติดตั้งชิลเลอร์อุตสาหกรรมโรงงาน (Industrial Chiller) รวมไปถึงการติดตั้ง ออกแบบ ระบบปรับอากาศ และทำความเย็น คุณภาพสูงที่ตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับโลก
Contact us :
Line id : @advancecool
Email : info@advance-cool.com
Powered by Froala Editor